วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

T-84 OPLOT


          รถถังหลัก T-84 OPLOT ออกแบบโดยบริษัท Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau (KMDB) และสร้างโดย Malyshev Plant ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ (State-owned Enterprise) ของประเทศยูเครน คำว่า “OPLOT” เป็นภาษายูเครน ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Bulwark” ซึ่งหมายถึง “ป้อมปราการหรือที่มั่นสาหรับต่อสู้กับข้าศึก” เป็นรถถังยุคใหม่ที่มีความทันสมัย ถูกออกแบบให้เป็นรถถังที่มีอำนาจการยิงที่รุนแรง มีความแม่นยาสูง มีระบบป้องกันตัวเองที่เชื่อถือได้ และมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง สามารถปฏิบัติการในสภาพพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างมาก คือตั้งแต่ -40 องศาเซลเซียส ถึง + 55 องศาเซลเซียส หรือแม้กระทั่งการปฏิบัติการในพื้นที่ ที่อยู่สูงจากระดับน้าทะเลถึง 3000 เมตร รถถัง OPLOT ก็ยังสามารถปฏิบัติภารกิจได้เป็นอย่างดี
          รถถังหลัก T-84 OPLOT เป็นรถถังที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากตั้งแต่ รถถังหลักรุ่น T-64 ซึ่งเป็นรถถังที่ใช้ระบบบรรจุกระสุนแบบอัตโนมัติ (Autoloader) รุ่นแรกของโลก จนมาถึงรถถัง รุ่น T-80UD ก่อนจะกลายมาเป็นรถถัง T-84 OPLOT ในปัจจุบัน รถถังรุ่นนี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นเดิมหลายรายการ อาทิเช่น ป้อมปืนรุ่นใหม่ เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1,200 แรงม้า เกราะปฏิกิริยาแบบใหม่ กล้องเล็งแบบใหม่ ระบบต่อต้านการตรวจการณ์ด้วยสายตาที่เรียกว่า “Varta” ที่สามารถปูองกันการตรวจจับหรือการเล็งเกาะเป้าหมาย (Tracking) ด้วยแสงเลเซอร์ รวมถึงการมีระบบก่อกวนสัญญานคลื่นอินฟราเรด ซึ่งนิยมใช้ในระบบอาวุธนาวิถีต่อสู้รถถังทั่วๆไปอีกด้วย ซึ่งทำให้รถถังรุ่นนี้สามารถเพิ่มความอยู่รอดในสนามรบได้มากขึ้น
            T-84 OPLOT   เป็นรถถังใหม่ที่จะเข้ามาประจำการในกองทัพโดยที่กองทัพไทยได้ได้จัดซื้อจากประเทศยูเครน จากยอดสั้งซื้อ 49 คัน ภายใต้สัญญามูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ 

M60A1/A3 TTS



          M60 ที่เราจัดหาเป็นมือสองจากสหรัฐเข้ามาประจำการในประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ. 2539 ผู้รู้หลายท่านทั้งในและต่างประเทศให้ความเห็นว่า M60 เหมาะสมที่สุดในภูมิประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ดินค่อนข้างอ่อน ถ้าเรารถถังหนัก ๆ และมีแรงกดต่อพื้นที่มาก ๆ มีหวังติดหล่ม ทำให้ขาดความคล่องตัวไปเยอะ

          M60 ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 105 mm. โดย M60A3 จะพิเศษกว่าตัว A1 ก็ตรงที่มันมี Tank thermal Sights ฉะนั้น บางทีเราก็เรียก A3 ของเราว่า TTS เช่นกัน TTS ซึ่งเป็นระบบสร้างภาพจากความร้อน   ในไทยมีประจำการรวม ๆ กันแล้วประมาณ 178 คัน


Commando Stingray




          เราคงจะไปหา Stingray ที่ประเทศอื่นไม่ได้ เพราะรถถังชนิดนี้มีประจำการที่ประเทศเราประเทศเดียว (แม้แต่อเมริกาผู้ผลิตก็ไม่ได้ประจำการ) เพราะบริษัทผู้ผลิตประสบความสำเร็จในการขายให้เราแค่ประเทศเดียว 100 กว่าคันนิด ๆ

          Stingray ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 105 mm. พร้อมด้วยระบบเล็งเป้าด้วยเลเซอร์ ระบบ stabilizer และอีกหลายอย่าง ด้วยรูปร่างที่สวยงาม เจ้านี้แหละสุดยอด

M41






          M41 นี้อยู่คู่กับกองทัพบกไทยมาเกือบ 50 ปี สร้างชื่อในสงครามเกาหลี M41 ได้รับการจัดหาจากกองทัพบกไทยจำนวนรวม 200 คนในช่วงสงครามเย็นที่เรามีปัญหากับเวียดนามครับ เนื่องจากมันมีขนาดที่เล็กพอดี แต่มีประสิทธิภาพในการรบที่สูง M41 ติดปืนใหญ่รถถังขนาด 76 mm. ซึ่งในปัจจุบันก้ยังมีอีกบางประเทศที่ประจำการด้วย M41 อยู่นะครับ แต่ส่วนใหญ่ได้รับการ upgrade ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ติดเกราะหนาขึ้น แต่ข้อเสียของ M41 ก็คือมันเป็นเครื่องยนต์เบนซินและ กินน้ำมันมากและเสียงดังมาก

FV 101 CVR(T) Scorpion



          Scorpion เป็นรถถังอังกฤษ   เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2521  ตอนจัดซื้อก็ถูกวิจารณ์อย่างมากว่าจะเข้ากับระบบเราที่เป็นอเมริกันได้หรือเปล่า แต่ไป ๆ มา ๆ Scorpion ก็มีส่วนร่วมในหลาย ๆ สมรภูมิทำเอาข้าศึกเละตุ้มเปะมาแล้ว Scorpion ติดปืนขนาด ที่ดูรูปร่างแล้วตลก ๆ  ที่จริงเค้าจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของรถประเภท "รถรบลาดตระเวนสายพาน" หรือ Combat Vehicle Reconnaissance (Tracked): (CVR(T)) Scorpion ติดปืนขนาด 76 mm.  ไทยมีประจำการประมาณ 150 คัน

Type-69 II

         



          Type-69 II นั้นเป็นรถถังจากประเทศจีนเข้ามาประจำการในไทยเมื่อปีพ.ศ. 2530 ช่วงนั้นเราเปิดสัมพันธทางการฑูตกับจีน และขอให้หยุดสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (เวียดนามตอนนั้นเป็นสายโซเวียต) ประกอบกับเราต้องการจัดซื้อรถถังอย่างเร่งด่วนที่สุด เราจึงขอซื้อรถถัง Type-69 II มาจากจีน จีนก็ขายให้ราคาถูกแสนถูก (ประมาณ 5% - 10% ของราคาจริง) แต่เป็นรถถังที่เคยประจำการในจีนมาบ้างแล้ว ซึ่งการที่เราได้รับสุดยอดรถถังในกองทัพปลดปล่อยในขณะนั้นก็ถือเป็นการส่งสัญญาณที่ดีในการเป็นพันธมิตรระหว่างไทยและจีน

          Type-69 II เป็นรุ่นปรับปรุงมาจาก Type-69 ธรรมดา (ซึ่งจีนก๊อปมาจาก T-55 ของโซเวียตอีกทีนึง) รุ่น II นี้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 100 mm. มีระบบ stabilizer ทั้งแนวตั้งและแนวนอนเพื่อรักษาระดับของปืน แถมระบบเล็งด้วยเลเซอร์บนตัวปืนอีก สำหรับ Type-69 II ของไทยนั้นติดตั้งปืน 12.7 mm Browning ของสหรัฐแทน 12.7 ของจีน

          Type-69 II ทั้ง 100 กว่าคันเคยมีข่าวนอยู่ช่วงหนึ่งครับ คือวิ่งไม่ได้เลยซักคัน แต่ช่วงหลังประมาณปี 46 -47   ก็มีข่าวว่าจีนก็รับรถถัง (น่าจะ) ส่วนหนึ่งไปซ่อมคืนสภาพให้เองในมูลค่า 10 ล้านเหรียญแบบเราไม่ต้องจ่ายซักกะบาท ฟรีครับงานนี้

M48A5

          


          หลังจากเราจัดหา M41 มาได้ซักพัก และหลังจากจัดหา Scorpion ได้ปีเดียว กองทัพบกก็จัดซื้อ M48A5 เข้าประจำการ โดยที่ M48A5 มีความแม่นยำสูง มีอัตราการยิงถูกในนัดแรกสูงที่สุดในสมัยนั้น M48A5 มีน้ำหนัก 52 ตัน ติดปืนใหญ่ขนาด 105 mm. เกราะหนาสุงสุดที่ด้านหน้า 120 mm. ทบ.ไทยมีประจำการ 105 คัน



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/200/war/16.htm